วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

7-Zip สุดยอดฟรีโปรแกรมในการบีบอัด และคลายไฟล์

7-Zip สุดยอดฟรีโปรแกรมในการบีบอัด และคลายไฟล์

 การใช้งานของโปรแกรม 7-Zip เราสามารถใช้งานโดยตรงผ่านโปรแกรม Windows Explorer ของ Windows ได้ทันที โดยการคลิกเลือกรายชื่อไฟล์ที่ต้องการ จากนั้นคลิกขวา จะมีเมนูลัด ให้เลือกบีบอัดไฟล์ ส่วนการคลายไฟล์ก็เพียงดับเบิลคลิกไฟล์ที่บีบอัด โปรแกรมจะถูกเปิดให้อัตโนมัติ ง่ายไหมครับ คราวนี้เรามาดูรายละเอียดวิธีการใช้งานกันดูครับ

7-Zip File Manager

ความหมายของคำสั่งต่างๆ ของ 7-Zip

  • Extract files - การคลายไฟล์
  • Add to Archive - การบีบอัดไฟล์
  • Compress and email - บีดอัดไฟล์และส่งด้วย email
วิธีการบีบอัดไฟล์ด้วย 7-Zip
  1. เปิดโปรแกรม Windows Explorer หรือกดปุ่ม "Windows logo + E"
  2. เลือกไฟล์ที่ต้องการบีบอัด อาจเลือกมากว่าหนึ่งไฟล์ก็ได้ โดยการกดปุ่ม Shift + คลิกเลือกไฟล์ต่อเนื่อง หรือ กดุปุ่ม Ctrl + ไฟล์ที่ต้องการ
  3. คลิกขวา เลือกคำสั่ง Add to Archinve
  4. How to Archive 7-zip
  5. จากนั้นตั้งชื่อไฟล์ คลิกปุ่ม OK เพื่อยืนยัน
ทิป 7-zip: การใช้คำสั่ง Add to Archive ครั้งแรก โปรแกรมจะมีการกำหนดไฟล์บีบอัดเป็น 7z แต่ถ้าต้องการบีบอัดเป็น Zip สามารถเปลี่ยนได้จากหัวข้อ Archive format

Add to Archive 7-zip

วิธีการคลายไฟล์ด้วย 7-Zip

  1. ดับเบิลไฟล์ที่เป็น .Zip หรือ 7z
  2. คลิกเลือกไฟล์ที่ต้องการ
Download 7-Zip

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

มีใครรู้จัก 7-Zip บ้าง : บีบอัดข้อมูล ฟรีและดี

มีใครรู้จัก 7-Zip บ้าง

7-zip Logo7-Zip เป็นฟรีโปรแกรม Open Source ที่เราสามารถ download มาใช้งานได้ฟรีๆ ส่วนความสามารถของโปรแกรมตัวนี้ ถ้าเปรียบเทียบกับโปรแกรม WinZip คงทำให้หลายๆ คนเข้าใจได้ง่ายขึ้น แต่สำหรับอีกหลายคนที่ยังไม่รู้จัก ขอแนะนำความสามารถหลักๆ ดังนี้

ความสามารถของ 7-Zip

  • บีบอัดข้อมูล หลายๆ ไฟล์และสร้างเป็นไฟล์เดียว
  • รองรับการบีบอัดไฟล์และบันทึกเป็น 7z, ZIP, GZIP, BZIP2 and TAR
  • สามารถคลายไฟล์ (Unzip) ไฟล์ประเภท ARJ, CAB, CHM, CPIO, DEB, DMG, HFS, ISO, LZH, LZMA, MSI, NSIS, RAR, RPM, UDF, WIM, XAR and Z
  • ถ้าบีบอัดเป็นไฟล์นามสกุล 7-Zip จะบีบอัดได้มากกว่า PKZIP, WinZip ได้มากถึง 2-10%
  • สามารถเข้ารหัสไฟล์ หรือ?encryption ไฟล์ 7z และ Zip
  • สามารถคลายไฟล์อัตโนมัติได้
  • รอบรับภาษาได้ 74 ภาษา
  • รองรับ Windows ทุกเวอร์ชั่น และ Linux/Unix

การบีบอัดไฟล์ได้ประโยชน์อะไร

  • ประหยัดพื้นที่บน Hard Disk เพราะไฟล์มีขนาดเล็กลง
  • สะดวกในการโอนย้ายไฟล์ระหว่างกัน
  • สามารถรับส่งผ่านอีเมล์ ได้สะดวกขึ้น
  • สามารถใส่รหัสผ่านในการเปิดไฟล์ได้ด้วย
ดาวโหลด 7-Zip

วันเสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

มารู้จักกับ open source กันดีกว่า

โอเพ่นซอร์ส ซอฟต์แวร์ ทางเลือกที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์

บทความโดยคุณศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 22 กันยายน 2551



" นึกขึ้นมาได้ว่าผ่านหูผ่านตาประกาศกำหนดปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ ซอฟต์แวร์ อย่างจริงจังโดยกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ หรือบีเอสเอ (บิซิเนส ซอฟต์แวร์ อัลไลน์ซ) ร่วมกับ กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ดีเดย์ไว้วันที่ 15 ตุลาคมนี้ เป็นเส้นตายสำหรับองค์กรธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ หากตรวจพบจะถูกจัดการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด โดยบีเอสเออ้างว่ามีรายชื่อบริษัทธุรกิจในมืออยู่แล้วราว 100 บริษัท
นับจากวันนี้ก็เหลือเวลาอีกไม่กี่วัน บริษัทไหนยังมีซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ก็เตรียมตัวเตรียมใจ และเตรียมเงินเผื่อเอาไว้หน่อย
พูดถึงเรื่องนี้ทำให้นึกถึงรัฐวิสาหกิจอย่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ ไทย หรือ กฟผ.ขึ้นมา องค์กรนี้เป็นองค์กรใหญ่ที่ริเริ่มเรื่องโอเพ่นซอร์ส ซอฟต์แวร์ มาตั้งแต่ราวปี 2537 เริ่มจากเซิร์ฟเวอร์ขยายมาเรื่อยๆ และลงเป็นแผนจริงจังในปี 2547 ขยายการใช้งานไปสู่เดสก์ท็อป แม้ระบบปฏิบัติการที่พนักงานใช้ทั่วๆ ไปยังเป็นวินโดว์สอยู่ แต่ซอฟต์แวร์สำหรับการทำงานตัวอื่นๆ ซึ่งเป็นโอเพ่นซอร์ส ถูกขยายการใช้งานไปเรื่อยๆ อย่างเช่น โอเพ่น ออฟฟิศ หากดูตามแผนงานแล้วถึงสิ้นปีหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 10,000 เครื่อง ของ กฟผ.จะใช้โอเพ่น ออฟฟิศ แทนไมโครซอฟต์ ออฟฟิศ
ก็ไม่ต้องเสียเงิน และไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ใครด้วย จำได้ว่าผู้บริหาร กฟผ.บอกว่า การปรับองค์กรให้หันมาใช้โอเพ่นซอร์ส ซอฟต์แวร์มากขึ้นตามแผนงานนี้ ช่วยประหยัดงบประมาณได้ราวปีละ 30 ล้านบาท
ถ้าองค์กรใหญ่ระดับ กฟผ.ยังใช้โอเพ่นซอร์ส ซอฟต์แวร์ ได้ ก็ไม่มีข้อกังขาอะไรแล้วละครับ
เท่าที่เห็นๆ มา คนทั่วๆ ไปเกี่ยงงอนท่าโน้นท่านี้กับโอเพ่นซอร์ส ซอฟต์แวร์ แล้วก็ก้มหน้าก้มตาใช้ของละเมิดลิขสิทธิ์ต่อไปโดยไม่รู้สึกรู้สาอะไร บางคนก็อ้างเอาดื้อๆ ว่าก็อยากขายแพง ซึ่งว่าที่จริงแล้วของราคาแพงไม่ได้เป็นเหตุผลอันชอบธรรมให้เราต้องไปขโมย เขามาใช้ ในกรณีที่มีทางเลือกอื่นให้เลือกอยู่ไม่น้อยอย่างในเวลานี้
อันที่จริงถึงแม้จะยังใช้ระบบปฏิบัติการวินโดว์สอยู่ เพราะบางคนไม่พร้อมจะเรียนรู้สิ่งใหม่ แต่โอเพ่นซอร์ส ซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานทดแทนซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์นั้นมีอยู่ครบถ้วนให้ใช้ ถ้าไม่พร้อมจะเสียเงินไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ก็ควรจะหันมาหาทางเลือกที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์
จากประสบการณ์ส่วนตัว อย่าว่าแต่พวกโปรแกรมใช้งานต่างๆ เลยครับ แม้แต่ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ที่ผมใช้ก็เป็นลินุกซ์ในสายพันธุ์อูบุน ตูหมด ไม่เห็นจะมีปัญหาอะไร ถ้ามีก็หาทางแก้เอา เหมือนสมัยก่อนโน้นที่ยังใช้วินโดว์สก็มีปัญหาให้แก้อยู่เนืองๆ

ข้อดีของระบบปฏิบัติการแบบโอเพ่นซอร์ส อยู่ตรงที่สามารถนำมันมาดัดแปลงให้สอดคล้องเหมาะสมกับความต้องการใช้งาน อย่างเช่น ไพเรต เอดิชั่น เป็นตัวอย่างหนึ่ง ความจริงแล้วในต่างประเทศยังมีการดัดแปลงกันไปอีกมากมายสำหรับงานเฉพาะทาง เช่น อูบุนตู สตูดิโอ สำหรับคนทำงานด้านมีเดียโดยเฉพาะ เป็นต้น  "


พบกับโปรแกรมโอเพนซอร์สให้ดาวโหลดได้มากมายที่ blog นี้นะค่ะ